การท่องเที่ยวแบบช้าๆ ค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยดื่มด่ำ

การท่องเที่ยวแบบช้าๆ ค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยดื่มด่ำ

การท่องเที่ยวแบบช้าๆ

การท่องเที่ยวแบบช้าๆ หรือ Slow tourism เป็นการท่องเที่ยวแบบไม่เร่งรีบ นักท่องเที่ยวมักจะใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่ ยาวนานขึ้น เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นโดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ ซึ่งอาจเกิดจากนักท่องเที่ยวบางส่วนต้องการต้องการการใช้ชีวิตที่ไม่เร่งรีบ หลีกหนีความวุ่นวายและจำเจในเมือง เพื่อแสวงหาการพักผ่อนที่แท้จริงผ่านกิจกรรมต่างๆของแหล่งท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวอาจใช้เวลาและพักผ่อนอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวให้นานมากขึ้น เพื่อที่จะได้มองเห็นสิ่งสวยงามของสิ่งใกล้ตัวในสถานท่องเที่ยวมากขึ้น โดยมีคำแนะนำง่ายๆ คือเลือกพักในแหล่งท่องเที่ยวให้นานขึ้น และเริ่มวางแผนท่องเที่ยวไปยังสถานที่รอบๆ ที่พัก เรียนรู้กับวิถีชีวิต การอาหาร ทำความรู้จักกับผู้คนในพื้นที่ ซึ่งเราเชื่อว่านักท่องเที่ยวจะสามารถพบเจอกับประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งน้อยนักคนจะได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์แบบนี้อย่างแน่นอน

ค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยดื่มด่ำ ตามแนวคิด 10s

การท่องเที่ยวแบบช้าๆ ค่อยเป็น ค่อยไป ค่อยดื่มด่ำ

Slow activity

คือ การประกอบกิจกรรมที่ไม่เร่งรีบจนเกินไป แต่ใช้เวลาอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งยาวนานมากขึ้น หรืออาจมีการพักแรมในแหล่งท่องเที่ยว เน้นกิจกรรมที่ปลอดภัย มุ่งเน้นกิจกรรมในการผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น สปา โยคะ การนวด อาหารเพื่อสุขภาพ การปั่นจักรยานเพื่อชมวิถีชีวิตของคนในพื้นที่

Slow logistics

คือ กิจกรรมการเดินทาง การขนส่งที่ไม่เร่งรีบจนเกินไป โดยเน้นความปลอดภัยในการเดินทาง ยานพาหนะและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง ควรมุ่งไปการขนส่งที่สะอาดถูกสุขลักษณะ ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและนักท่องเที่ยวน้อยที่สุดรวมถึงการส่งเสริมการใช้รถสาธารณะ และการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะของท่องถินเพื่อกระจายรายได้อีกด้วย

Slow food

คือ การประกอบอาหารที่ประณีตพิถีพิถัน เป็นอาหารที่มีคุณภาพ สด สะอาดและปลอดภัย ทั้งในด้านวัตถุดิบเครื่องปรุง เครื่องครัวและวิธีการประกอบอาหาร และการส่งเสริมการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้ในการประกอบอาหารด้วย

Slow stay

คือ การพักค้างแรมเป็นระยะเวลานาน โดยอาจจะมากกว่า 1 คืน ซึ่งจะเน้นไปที่การพักผ่อนในแหล่งท่องเที่ยวท่ามกลางธรรมชาติหรือแหล่งชุมชน ที่เราจะสามารถซึมซับบรรยากาศ และประกอบกิจกรรมร่วมไปกับท้องถิ่นได้

Slow place/city

คือ สถานที่ท่องเที่ยว ชุมชนหรือเมืองขนาดเล็กที่มีเรียบง่าย มีความเป็นธรรมชาติสูง มีความสงบ ผู้คนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันไปในแต่ละท่องถิ่นนั้นๆ แนวคิดนี้ควรมุ่งเน้นการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการจัดการวางแผนที่ดีเคียงคู่ไปกับการท่องเที่ยว

Slow money

คือ จะเป็นการใช้จ่ายที่ไม่เร่งรีบ จ่ายในส่วนที่สมควรจะจ่าย เน้นการใช้สอยที่ใช้เวลาที่ยาวนาน ไม่เน้นความฟุ่มเฟือย การจับจ่ายควรมุ่งไปสู่ท่องถิ่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เน้นการสร้างรายได้แก่คนในท้องที่ ขณะเดียวกันแหล่งท่องเที่ยวก็ไม่ควรเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว สินค้าและบริการควรเป็นสิ่งที่มาจากชุมชุนไม่ขัดแย้งกับเอกลักษณ์เฉพาะของท้องที่

Slow Development

คือ การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นการพัฒนาขนาดเล็กและยั่งยืนภายใต้การรองรับของพื้นที่ โดยไม่ควรปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของพื้นที่เลย

Slow accommodation

คือ สถานที่พักแรมที่มีความสงบและปลอดภัยอยู่ห่างไกลจากแหล่งมลภาวะต่างๆ ที่เป็นพิษ โดยจะเป็นที่พักขนาดเล็กและเรียบง่าย มีการจัดการที่พักแรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการออกแบบให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมแต่ละสถานที่ท่องเที่ยว

Slow life

คือ การใช้ชีวิตของนักท่องเที่ยวท่ามกลางความสงบเน้นการพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติ ดั้งเดิมของพื้นที่ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสถึงการใช้ชีวิตของคนในแหล่งท่องเที่ยว เน้นการท่องเที่ยวและการพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เน้นการท่องเที่ยวที่เมืองใหญ่ไม่สามารถตอบสนองได้

Slow energy

คือ การประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ประหยัดพลังงาน ทรัพยากรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการขนส่ง ที่พักแรม กิจกรรมการท่องเที่ยว และการบริการในด้านอื่นๆจากแนวคิดของการท่องเที่ยวแบบช้าๆ ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป ค่อยๆดื่มด่ำ (Slow tourism) เราจะเห็นได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวที่เน้นความเรียบง่าย สงบ มุ่งเน้นกิจกรรมที่เป็นมิตรและใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม เน้นการท่องเที่ยวที่เข้าหาธรรมชาติ สัมผัสกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น และมุ่งการกระจายรายได้ไปสู่ท่องถิ่น ซึ่งการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การวางแผนและการพัฒนาท่องเที่ยวแบบนี้ จึงควรเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม เน้นความเป็นดั้งเดิมให้เหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของท้องที่ มีการจัดการกับผลกระทบด้านต่างๆร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ซึ่งถ้าหากเราสามารถทำได้การพัฒนาการท่องเที่ยวก็จะนำไปสู่ความยั่งยืนอย่างแน่นนอน

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *