นอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ นอนหลับยาก นอนยังไงก็หลับไม่ลง ทำไงดี เรามีวิธีช่วยให้คุณ หลับง่ายขึ้น แล้วเมื่อไหร่จึงเรียกว่านอน ไม่หลับล่ะ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เราต้องขออธิบาย ให้รู้ว่า การนอนไม่หลับนั้นไม่ใช่โรค แต่ถือเป็น ปัญหาการนอน ที่ไม่เพียงพอ ทำให้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว รู้สึกไม่สดชื่น โดยอาจส่งผลกระทบ ต่อหน้าที่ การทำงาน และความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นได้ ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจมีความรู้สึก เมื่อนอนไม่หลับได้หลายรูปแบบ เช่น นอนหลับยาก ต้องใช้เวลานานถึงจะหลับ , หลับไม่สนิท , นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ , นอนเร็วกว่าปกติ , ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น เมื่อเกิดอาการนี้มาก ๆ เข้า หลายคนก็หมกมุ่น อยู่กับอาการของตน จนไม่เป็นอันทำอะไร ดังนั้น ในบทความนี้ จึงขอพาท่าน มาทำความเข้าใจ อาการนอน ไม่หลับเหล่านี้ เพื่อให้หาวิธีแก้ ที่ถูกต้อง ก่อนที่ สุขภาพของเรา จะกู่ไม่กลับ
นอนหลับยาก นอนยังไงก็หลับไม่ลง ทำไงดี เรามีวิธีช่วยให้คุณ หลับง่ายขึ้น การนอน ไม่หลับส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
– คุณภาพชีวิตที่ดี อาจลดลง
– ประสิทธิภาพ ในการทำงาน ของท่าน ลดลง
– ความสามารถ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ลดลง
– อาจประสบอุบัติเหตุ ได้ง่าย ซึ่งมีการสำรวจว่า หากขับรถ โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 2.5 เท่า
– มีการใช้บริการทางแพทย์สูงขึ้น เนื่องมาจากปัญหาด้านสุขภาพ เช่น การปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เฉื่อยชา รู้สึกไม่สดชื่น หงุดหงิด ขาดสมาธิ เป็นต้น
– การนอน ไม่หลับ ในผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคทางจิตเวช มีรายงานพบว่าอาจเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำอีก
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
1. สาเหตุของการนอน ไม่หลับ ที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องของจิตใจ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่มีอาการนอน ไม่หลับส่วนใหญ่ มักเกิดจากอาการที่ ส่งผลกระทบต่อเรื่องของจิตใจของบุคคล อาทิเช่น โรคเครียด โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 70 จะมีอาการนอน ไม่กลับ เป็นอาการหลัก ๆ
2. สาเหตุของการนอน ไม่หลับที่มีปัจจัยที่เข้าไป กระตุ้นให้เกิดการนอน ไม่หลับ ซึ่งมักจะเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นชั่วครั้งชั่วคราว อาทิ
– Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะการนอน ไม่หลับ ที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่น ผลจากความเครียด , การเจ็บป่วย , การผ่าตัด , การสูญเสียของรัก หรืองาน ซึ่งเมื่อใด ที่สิ่งกระตุ้นเหล่านี้หายไป อาการนอนไม่ หลับจะกลับสู่สภาวะปกติ
– Jet Lag มักจะเกิดขึ้น กับผู้ป่วยที่เดินทางบินข้ามเขตเวลา ทำให้ร่างกาย ต้องเปลี่ยนเวลานอน จนปรับตัวเองไม่ทัน เลยเป็นเหตุให้นอนหลับยาก
– Working Conditions เป็นผลมาจากการที่ต้องเข้างานเป็นกะ ทำให้นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป จนทำให้ นอนไม่เป็นเวลา
– Medications อาการนอน ไม่หลับที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด หรือเครื่องดื่ม เช่น ยาลดน้ำมูก , กาแฟ
วิธีแก้อาการนอนหลับยาก
1. ให้จัดห้องนอน ให้เหมาะสมแก่การนอน ตรวจสอบรอบห้องให้ดี อย่าให้มีเสียงรบกวน หรือเสียงแทรกเข้ามาได้ ควรปรับอุณหภูมิห้อง ให้เหมาะสม ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป ที่สำคัญเลยคือ ห้องนอนควรมืดสนิท เพื่อการนอนหลับที่ดี มีประสิทธิภาพ
2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน หลังช่วงบ่าย จนถึง ช่วงก่อนเข้านอน
3. ก่อนนอน ให้ดื่มนมอุ่น ๆ สักแก้ว จะช่วยให้ หลับสบายยิ่งขึ้น
4. ไม่ควรงีบหลับ ในเวลากลางวัน เพราะอาจรบกวน การนอนในยามค่ำคืนได้ ถ้าง่วงจนทนไม่ไหวจริง ๆ ก็อย่างีบหลับจนเกิน 1 ชั่วโมง เป็นอันขาด
5. นอนให้เพียงพอ อย่านอนเยอะเกินไป หลังตื่นนอน ควรลุกออกจากเตียง แล้วเดินไปสูดอากาศ ในยามเช้าจะดีกว่า
6. เข้านอน และ ตื่นนอน ให้เป็นเวลา ทำให้ติดเป็นนิสัย ไม่ใช่ว่าคืนไหนนอนดึกก็นอน คืนไหนอยากตื่นสายก็ตื่น บอกเลยว่าห้ามทำเด็ดขาด ไม่งั้น อาจจะกระทบ กับเวลานอน ทำให้อาการนอน ไม่หลับ กลับมาอีก
7. ถ้านอน ไม่หลับเกิน 15-20 นาที ควรลุกออกจากเตียง มาหากิจกรรมอย่างอื่นทำ เช่น การฟังเพลง การอ่านหนังสือวิชาการ หรือหนังสือธรรมมะ น่าจะช่วยให้ รู้สึกง่วงได้ดีไม่น้อย หลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ เล่นมือถือ หรือเล่นคอมพิวเตอร์ เพราะแสงจากจอ จะกระตุ้นให้สมองตื่นตัวได้
8. ให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30-45 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์ การออกกำลังกาย จะช่วยลดความตึงเครียด ทางอารมณ์ และร่างกายได้ หากออกกำลังกายในช่วงเช้า และเย็นได้ผลดีที่สุด ไม่ควรออกกำลังกายตอนดึก หรือใกล้ช่วงเวลานอน เพราะอุณหภูมิในร่างกาย จะสูงขึ้น และไปกระตุ้นสมอง ให้ทำงาน จะทำให้ เราหลับยากขึ้นกว่าเดิม