ลงทุนแบบไหน
ลงทุนแบบไหน ให้เข้ากับ Life Style ของแต่ละบุคคล เลือกวิธีลงทุน ตามความถนัด และสภาพคล่องของตัวเอง ในปัจจุบันนั้น การลงทุนในหุ้น เรียกได้ว่าเป็นที่นิยม และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น เพราะอย่างที่ทราบกันดี ว่าผลตอบแทน ที่เกิดจากสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น เงินฝาก สลากออมสิน หรือพันธบัตรรัฐบาล จะอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก หรืออยู่ในระดับ ที่ต่ำกว่าการคาดหวัง แม้ว่า ตลาดหุ้นนั้น จะเป็นทางเลือก การลงทุนที่น่าสนใจ แต่ว่าเราจะเลือกลงทุนแบบใด ที่จะเหมาะกับตนเอง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเมื่อลงทุน ในตลาดหุ้น จะมองแค่ด้านของ ผลตอบแทนด้านเดียวไม่ได้ ต้องมองเรื่องความเสี่ยงด้วย โดยเฉพาะนักลงทุนมือใหม่ ควรรู้จักตนเอง Life Style เราเป็นแบบไหน รับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน
ลงทุนแบบไหน ให้เข้ากับ Life Style ของแต่ละบุคคล เลือกวิธีลงทุน ตามความถนัด และสภาพคล่องของตัวเอง
รูปแบบการลงทุน
เมื่อ Life Style แตกต่างกัน การลงทุนที่เหมาะสม กับแต่ละคนนั้น ก็ย่อมแตกต่างกันไป หากอยากเริ่มต้น และประสบความสำเร็จ ในการลงทุน ก็ควรมีแผนการลงทุน ที่เหมาะสมกับตัวเราเอง และสอดคล้องกับ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ สำหรับมือใหม่ ที่อยากลงทุน ในหุ้น อาจลองเริ่มต้นศึกษา 2 รูปแบบการลงทุน ดังต่อไปนี้
- แผนการลงทุนระยะยาว (Long Term Investment) ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
การลงทุนระยะยาวนั้น ก็เหมือนกันการวิ่งมาราธอน เป็นการค่อย ๆ สร้างความมั่งคั่ง อย่างมั่นคง การลงทุนแบบนี้ มีความผันผวนของตลาดที่ต่ำ โดยลักษณะของ การลงทุนระยะยาวนั้น นักลงทุนมักกำหนด วัตถุประสงค์ไว้ว่า เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง จะต้องการมีเงินจำนวนเท่าไหร่ เช่น ลงทุนเพื่อเกษียณในอีก 20 ปีข้างหน้า และต้องการมีเงินจำนวน XXXX บาท หรือ อีก 10 ปีข้างหน้า ต้องการมีเงินเก็บจำนวน YYYY บาท เป็นต้น กล่าวคือ เป็นการปล่อยให้เงินทำงาน เพื่อสร้าง Passive Income การลงทุนระยะยาว ควรจะเลือกลงทุนใน
- หุ้นที่เป็นกิจการขนาดใหญ่ มีผลการดำเนินงานที่ดี และฐานะทางการเงินที่มั่นคง โดยเฉพาะ เมื่อพ้นวิกฤตต่าง ๆ แล้ว เม็ดเงินลงทุนมักจะกลับมา ในหุ้นใหญ่ ๆ เหล่านี้ เช่น หุ้นกลุ่ม SET50 ในกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ใหญ่ ๆ เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร สื่อสาร ค้าปลีก ขนส่ง เป็นต้น
- หุ้นเติบโต โดยต้องมี ผลการดำเนินงานที่โดดเด่น และมีแนวโน้มเติบโตที่ดี
- หุ้นปันผล ก็เป็นกลยุทธ์ชั้นดี ในการลงทุนเช่นกัน ควรเป็นบริษัทที่ มีนโยบายการจ่ายปันผล ที่ไม่น้อยกว่า 30-50% มีการจ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ และให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล มากกว่า 5% ต่อปี
ซึ่งหุ้นทั้งสามกลุ่มนี้ เหมาะที่จะลงทุน แบบระยะยาว หากคาดการณ์ว่า สภาวะการลงทุน ยังไม่แน่นอน ก็ควรทยอยลงทุน แบบทยอยซื้อเพื่อช่วยกระจายความเสี่ยง ดังนั้น การลงทุนระยะยาวนั้น ยิ่งลงทุนได้นานมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะขาดทุน จะยิ่งน้อยลง และเพิ่มโอกาสทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงขึ้น
- แผนการลงทุนระยะสั้น ที่ไม่เกิน 3 ปี
การลงทุนระยะสั้น ถือเป็นการลงทุน ที่ได้รับความนิยม จากนักลงทุนมากอยู่ พอสมควร โดยมีการซื้อ – ขายบ่อย ทำกำไรระยะสั้น และต้องเป็นนักลงทุน ที่ตัดสินใจเด็ดขาด สามารถยอมรับความเสี่ยงได้สูง มีจุด Stop loss ที่แน่นอน หากราคาตลาดหุ้น ไม่เป็นตามคาด สำหรับการลงทุนระยะสั้นนั้น อาจเน้นไปที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็ก เพราะมีโอกาสเติบโตสูง สามารถปรับตัวในวิกฤตต่าง ๆ ได้รวดเร็ว และง่าย แต่อาจจะจำเป็นต้องใช้ Market Timing (กลยุทธ์การจับจังหวะ) ร่วมด้วย เพื่อดูปัจจัยระยะสั้น และหาจังหวะการขาย เพื่อทำกำไรเป็นระยะ
ทั้งนี้ การลงทุนในระยะสั้นนั้น เงินที่ลงทุน ไม่ควรมีผลกระทบกับสถานะทางการเงิน และการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ของผู้ลงทุน
กลยุทธ์การลงทุนในหุ้น
กลยุทธ์ของการลงทุนในหุ้น จะมีอยู่ 2 แบบหลัก ๆ คือ Market Timing และ DCA ส่วนเรื่องที่ว่า แบบใดจะเหมาะกับเรา ลองมาศึกษาจากบทความนี้กัน
- Market Timing หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Lump sum คือ เป็นการลงทุนแบบเงินก้อน โดยประเมิน และคาดการณ์ทิศทางของตลาด ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยทางเทคนิค รวมถึงวิเคราะห์เศรษฐกิจประกอบกันด้วย เพื่อหาจังหวะการซื้อ-ขาย แล้วตัดสินใจลงทุน เพื่อให้สามารถ เข้าซื้อหุ้น ณ ราคาที่เหมาะสมได้ Market Timimg เหมาะกับใครบ้าง
- นักลงทุนที่วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแม่นยำ
- นักลงทุนที่มีความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค
- นักลงทุนที่มีเงินเป็นก้อน และกำลังรอจังหวะ เวลาการลงทุน ที่เหมาะสม
- DCA (Dollar Cost Averaging) คือการทยอยลงทุน แบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ด้วยเงินที่เท่า ๆ กันทุกงวด โดยไม่สนใจราคาหุ้น ณ ตอนนั้นว่าจะสูงหรือต่ำ จึงมีโอกาส ได้รับผลตอบแทนที่ดี ในระยะยาว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กำไรสูงที่สุด แต่ก็ไม่มีทางขาดทุนแบบกู่ไม่กลับ DCA เหมาะกับใครบ้าง
- นักลงทุนที่ไม่มีเวลาในการเฝ้าหน้าจอ หรือติดตามข้อมูลตลาด
- นักลงทุนที่มีเงินเริ่มต้นลงทุนไม่มากนัก
- นักลงทุนที่ต้องการสร้างวินัยในการลงทุน
ทั้งนี้ ไม่ได้มีวิธีใด ที่เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่นักลงทุน จะต้องเลือกกลยุทธ์ ให้เหมาะกับตัวเรา เพราะแต่ละวิธีนั้น ก็มีข้อดี ข้อจำกัด และข้อควรระวังในการลงทุนแตกต่างกันไป