อาการไหลตาย หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการไหลตาย หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการไหลตาย

อาการไหลตาย หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นถือเป็นภาวะความผิดปกติอย่างหนึ่งของการหายใจที่เกิดขึ้นระหว่างนอนหลับ มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจในส่วนต้น ตั้งแต่บริเวณจมูกลงไปถึงปอดมีความตีบแคบ เนื่องจากกล้ามเนื้อเพดานอ่อนมีความหย่อนยาน จนทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับและมีอาการนอนกรน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ รวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต โดยจะพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในช่วงอายุก่อน 35 ปี จะพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 20 % และอายุ 35 ปี ขึ้นไป จะพบสัดส่วนของผู้ป่วยโรคนี้เป็น 60 % นั่นก็เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นสมรรถภาพของร่างกายมีการเสื่อมถอยลง กล้ามเนื้อเพดานอ่อนมีความหย่อนยาน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการนอนกรน

อาการไหลตาย หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการไหลตาย หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการที่ต้องสังเกต

ขณะนอนหลับนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ แขนขากระตุก ฝันร้าย เช่น ฝันว่าตกจากที่สูง ตกน้ำ ทำให้มีการสะดุ้งตื่นหลับๆ ตื่น ๆ ตรวจพบค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดที่ลดลงต่ำกว่า 90% ส่งผลให้มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี มีการหยุดหายใจไปชั่วขณะ ถึงแม้จะมีระยะเวลาการนอนหลับหลายชั่วโมง เมื่อตื่นนอนมาจะพบอาการนอนไม่อิ่ม อ่อนเพลีย ง่วงนอนระหว่างวัน อารมณ์หงุดหงิด ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตการทำงานประจำวันได้ เนื่องจากขณะนอนหลับนั้น ผู้ที่มีอาการนอนกรนจะมีการหายใจผ่านทางช่องที่แคบ ทำให้มีโอกาสการเสียดสีภายในช่องทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นผลให้มีอาการเจ็บคอ คอแห้ง ปากแห้ง จมูกแห้ง ร่วมด้วยเมื่อตื่นนอน เพื่อลดอาการนอนกรน และช่วยให้ขณะที่นอนหลับหายใจได้สะดวกขึ้น แนะนำการนอนตะแคงขวาเเลี่ยงการนอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันการกดทับของหัวใจในขณะนอนหลับ

ใครบ้างคือกลุ่มเสี่ยง

1. ผู้ที่มีหน้าแบน คางสั้น คอสั้น ปากเล็ก ลิ้นโต
2. เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
3. มีโรคอ้วน
4. เป็นผู้ที่มีต่อมทอนซิลโต
5. เป็นผู้ที่มีริดสีดวงจมูก
6. เป็นผู้ที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป

การตรวจการนอนหลับ Sleep test

ถือเป็นการตรวจแบบมาตรฐานสากลที่ช่วยในกระบวนการตรวจวิเคราะห์ระบบการทำงานของร่างกายขณะที่คุณนอนหลับ อาทิ ระดับออกซิเจนในเลือด ระบบหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง กล้ามเนื้อ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ พฤติกรรมขณะนอนหลับ เป็นต้น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ทั้งนี้ผู้เข้ารับการตรวจควรจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจโดยงดการทานยานอนหลับ งดดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ เลี่ยงการออกกำลังกายหนักๆ

การรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สำหรับผู้ที่มีอาการนอนกรนร่วมด้วยกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับมากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นข้อบ่งชี้ปัญหาสุขภาพที่อันตรายจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาอาการนอนกรนให้หาย โดยทำการแก้ไขระบบทางเดินหายใจที่มีการตีบแคบให้ถ่างขยายกว้างออก ซึ่งจะช่วยฟื้นคืนระบบหายใจให้กลับมาทำงานเต็มประสิทธิภาพ สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ไหลลื่นขึ้น โดยมีกระบวนการวิธีการต่างๆ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละบุคคลนั้น และยังมีวิธีอื่นๆ อีก ดังนี้

– การลดน้ำหนัก สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเกิดอาการนอนกรน เกิดจากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมาก ส่งผลให้มีการหย่อนของกล้ามเนื้อในช่องคอเกิดขึ้น ทั้งนี้หากสามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ปัญหาการนอนกรนนี้ก็จะหมดไป

– การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกซีแพ็พ (CPAP) โดยการรักษาวิธีนี้จะช่วยเปิดขยายทางเดินหายใจส่วนต้น ไม่ให้ตีบแคบขณะนอนหลับ โดยหลักการทำงานของเครื่องนี้ จะเป็นการเป่าลมผ่านท่อสายยาง เข้าสู่จมูกของผู้ป่วยผ่านทางหน้ากากที่สวมครอบไว้ ซึ่งการใช้เครื่องนี้ต้องใช้จำเป็นต้องใช้ทุกครั้งเมื่อคุณนอนหลับ

– การใช้ฟันยาง ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีระดับอาการไม่รุนแรง และต้องได้รับการวินิจฉัยร่วมด้วยกับทันตแพทย์ในการประเมินและจัดทำฟันยางซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นรายบุคคลไป การใส่ฟันยางนี้จะช่วยให้ทางเดินหายใจส่วนต้นกว้างขึ้น โดยการยื่นขากรรไกรล่างและลิ้นออกมาทางด้านหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหรือเนื้อเยื่อในลำคอหย่อนอุดกั้นทางเดินหายใจขณะที่เรานอนหลับ

– การจี้คลื่นวิทยุไฟฟ้า เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุจี้ที่บริเวณโคนลิ้น ช่วยยกกระชับเพดานอ่อน ทำให้ช่องทางเดินหายใจขยายกว้างขึ้น เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนกรนไม่รุนแรงนัก

– การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาการนอนกรนหรือมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่มีความรุนแรง โดยจะเป็นการผ่าตัดนำเอาเนื้อเยื่อที่หย่อนยานบริเวณลิ้นไก่และเพดานอ่อนออก หรือในบางรายมีปัญหาต่อมทอนซิลโต ก็จำเป็นต้องผ่าตัดนำต่อมทอนซิลออก เพื่อช่วยขยายช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้นอีก

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *