เที่ยวทะเล ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวที่ทะเล

เที่ยวทะเล

เที่ยวทะเล ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวที่ทะเล

เที่ยวทะเล ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวที่ทะเล ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีวันหยุดเยอะ ซึ่งตรงกับฤดูร้อน หลายครอบครัวจึงวางแผนที่จะไปท่องเที่ยวตามจังหวัดต่าง ๆโดยเฉพาะจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลทางภาคตะวันออก และภาคใต้ เพื่อชมความงามของทัศนียภาพชายทะเล หาดทราย เกาะต่างๆ ว่ายน้ำดูปลา และปะการังใต้ท้องทะเล รวมถึงพักผ่อนคลายร้อน ซึ่งการไปท่องเที่ยวทะเล มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติภัยทางน้ำได้เช่นกัน เราจึงมีข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย มาให้ได้อ่านกัน

ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวที่ทะเล

เที่ยวทะเล ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย ข้อแนะนำสำหรับการปฏิบัติตนในการไปท่องเที่ยวที่ทะเล

1. ก่อนออกเดินทาง

ตรวจสอบเส้นทาง และศึกษาสภาพอากาศของแหล่งท่องเที่ยว ที่เราต้องการจะไปก่อน โดยติดตามพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอ หากมีประกาศแจ้งเตือน เกี่ยวกับคลื่นพายุลมแรง ควรงด หรือเลื่อนการเดินทางออกไปก่อน ตรวจสอบสภาพแหล่งท่องเที่ยว หากเป็นบริเวณที่มีคลื่นสูง มีทรายดูด เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษ เคยเกิดคลื่นน้ำทะเลดูด หรือคลื่นซัดฝั่งอย่างรุนแรง ก็ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปเล่นน้ำบริเวณดังกล่าว พร้อมกับจัดเตรียมสัมภาระที่จำเป็นไปด้วย เช่น ยารักษาโรค ห่วงยาง ชูชีพ เป็นต้น เพื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน

2. ขณะเล่นน้ำทะเล

– ไม่ควรเล่นน้ำหลังรับประทานอาหาเสร็จใหม่ ๆ เพราะจะทำให้เป็นตะคริวที่ท้อง อาจทำให้จมน้ำได้ ควรพักประมาณ 1 ชั่วโมงหลังทานอาหาร
– เล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ห้ามเล่นน้ำบริเวณน้ำลึก บริเวณที่มีคลื่นลมแรง และมีโขดหินอย่างเด็ดขาด โดยสังเกตธงที่ปักแสดงความลึกของระดับน้ำ หากเป็นธงสีเขียว แสดงว่าสามารถเล่นน้ำได้ หากเป็นสัญลักษณ์ธงสีแดง หนึ่งอัน แสดงว่าอันตราย แต่ถ้าเป็นธงสีแดง 2 อัน แสดงว่าพื้นที่นั้นอันตรายมาก ส่วนธงสีเหลือง แสดงว่าให้ระวัง ไม่ควรเล่นน้ำตามลำพัง หากว่ายน้ำไม่เป็น หรือว่ายน้ำไม่แข็งแรง ควรสวมใส่เสื้อชูชีพ หรือห่วงยาง เพื่อป้องกันการจมน้ำ
– ห้ามว่ายน้ำเข้าใกล้เรือ ขณะที่มีเรือกำลังแล่นอย่างเด็ดขาด เพราะอาจถูกเรือชนหรือใบพัดเรือบาดเอา
– ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพังเด็ดขาด ผู้ปกครองควรดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าให้คลาดสายตา เพราะหากเด็กถูกคลื่นซัด หรือเป็นตะคริว จะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองให้ปลอดภัยได้

3. การปฏิบัติตนในสถานการณ์ฉุกเฉิน

หากถูกคลื่นทะเลดูด ให้ว่ายน้ำเลี่ยงจากจุดที่คลื่นทะเลดูด และรีบว่ายเข้าหาฝั่งทันที หรือกรณีถูกคลื่นทะเลซัดอย่างรุนแรง ห้ามว่ายสวนกระแสน้ำ ให้ว่ายขนานกับชายฝั่ง จะช่วยให้พ้นจากกระแสน้ำนั้นได้

4. การดำน้ำชมปะการัง

หากขาดความระมัดระวัง ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ จึงมีข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้

– ตรวจสอบสภาพอากาศ และคลื่นลม ในบริเวณที่จะไปดำน้ำ หากคลื่นลมรุนแรงเกินไป ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะดำน้ำในบริเวณดังกล่าว
– ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อห้ามของพื้นที่ที่เข้าไปดำน้ำทุกครั้ง
– ในการดำน้ำบริเวณลึก จะต้องมีการเรียนดำน้ำอย่างถูกวิธี และเลือกใช้อุปกรณ์ดำน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งาน ห้ามดำน้ำ ขึ้น – ลง อย่างรวดเร็ว เพราะจะทำให้ก๊าซภายในปอดขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเข้าไปอยู่ ในเลือด โดยเฉพาะช่วงขึ้นจากน้ำ จนอาจทำให้เลือดขึ้นไปอุดตันสมอง จนเกิดภาวะน็อกน้ำทะเล ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตได้
– กรณีถูกกระแสน้ำซัดอย่างแรง อย่าว่ายสวน หรือว่ายทวนน้ำ จะทำให้เหนื่อยเราง่าย ให้ใช้วิธีลอยตัวไปตามกระแสน้ำ รอจนกว่าจะมีเรือมารับ
– ไม่ควรดำน้ำตามลำพัง ควรมีกลุ่มเพื่อนลงไปดำน้ำด้วยกัน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะได้มีคนคอยช่วยเหลือ และพยายามเกาะกลุ่มไว้ เพื่อไม่ให้พลัดหลงกัน และควรหยุดดำน้ำทันที หากเริ่มมีกระแสน้ำพัด ห่างออกจากฝั่งไปเรื่อย ๆ หรือมีฝนตั้งเค้า และเริ่มมีคลื่นลมที่รุนแรงขึ้น

บทสรุป ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัย

จะเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวทางทะเล มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำ ได้หลากหลายรูปแบบมาก ดังนั้น ก่อนเดินทาง ควรตรวจสอบสภาพอากาศ และสภาพพื้นที่ที่จะไป และควรจัดเตรียมอุปกรณ์ และสิ่งของที่จำเป็น เลือกสถานที่ในการเล่นน้ำ หรือดำน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบ หรือคำแนะนำของสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ หากนำเด็กไปด้วย ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพัง หรือปล่อยให้ละสายตาอย่างเด็ดขาด เพื่อให้การท่องเที่ยวทางทะเล เป็นการพักผ่อนคลายร้อนที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และปลอดภัยต่อตนเอง และคนที่เรารัก

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *