เริมที่ปาก มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีรักษาหรือป้องกันแบบไหนกันนะ

เริมที่ปาก

เริมที่ปาก มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีรักษาหรือป้องกันแบบไหนกันนะ

เริมที่ปาก เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากๆ ในทุกเพศ ทุกวัย แถมยังเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้อีกด้วย หากมีการสัมผัสเชื้อ เช่น การจูบ การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน การใช้หลอดดูดเดียวกัน การใช้ลิปสติกแท่งเดียวกัน การใช้ของร่วมกัน หรือแม้แต่การทำออรัลเซ็กส์ โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย เป็นต้น ดังนั้น เราจึงควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้เพิ่มขึ้น เพื่อที่จะได้รู้สาเหตุ และป้องกันตนเอง ไม่ให้เกิดโรคนี้ได้

สาเหตุเริมที่ริมฝีปาก มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีรักษาหรือป้องกันแบบไหนกันนะ

เริมที่ริมฝีปาก เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Herpes Simplex Type 1 Virus (HSV-1) สามารถติดเชื้อได้จากน้ำลาย และน้ำเหลือง หรือน้ำอสุจิ สารคัดหลั่ง โดยเชื้อไวรัสนี้ จะเข้าสู่ร่างกายได้ทางผิวหนังบริเวณที่มีรอยถลอก หรือแผล นอกจากนี้ ก็ยังสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ โดยผ่านทางเยื่อเมือก เช่น เยื่อบุปาก เป็นต้น โดยเมื่อเชื้อไวรัสนี้ เข้าสู่ร่างกายแล้ว ก็จะเข้าไปอยู่ในเซลล์ผิวหนังชั้นล่าง โดยในบางครั้ง ก็อาจจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่ผู้ป่วยบางราย ในทำนองเดียวกันนี้ เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุเริมที่ริมฝีปากนี้ ก็อาจจะเกิดมีการแบ่งตัวและทำลายเซลล์ผิวหนังทำให้เกิดเป็นตุ่ม ใส ๆ เมื่อตุ่มน้ำเหล่านี้ ได้แห้งหรือแตกแล้ว ก็จะเกิดเป็นสะเก็ดและก็หายไป โดยไม่มีแผลเป็นใด ๆ

เริมที่ปาก มีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุใด และมีวิธีรักษาหรือป้องกันแบบไหนกันนะ

อาการของเริมที่ริมฝีปาก

– รู้สึกแสบร้อน ในบริเวณริมฝีปาก หรือมีอาการคันยุบยิบ
– มีตุ่มพองใส ๆ ลักษณะจะคล้ายพวงองุ่น บริเวณปาก ริมฝีปากหรือรอบ ๆ ปาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งริมฝีปากบน หรือริมฝีปากล่างและในช่องปาก
– ปากเป็นแผล มีอาการบวมแดง และรู้สึกเจ็บปวดเพิ่มขึ้น หรืออาจมีอาการไข้ร่วมด้วย
– ปวดศีรษะ และรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง
– อาการนี้ อาจกินระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ และสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ จนกว่าแผลจะหายไปหมด

การรักษา

ในปัจจุบันนี้ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และสามารถเกิดซ้ำได้ทุกเมื่อ ใครหลาย ๆ คน จึงเป็นเริมบ่อยมาก เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอ หรืออยู่ในช่วงที่ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการป่วย รู้สึกเครียด หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดนแดดจัดจนผิวไหม้แดด รวมไปถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดคีโม และใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเมื่อคุณรู้ตัวว่าเป็นเริมที่ริมฝีปาก ก็ควรรีบรักษา เพราะอาจจะส่งผลในชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งยังกระทบต่อบุคลิกภายนอกของเรา หากต้องพบปะลูกค้า คุยงาน ออกงานสำคัญ อาจจะทำให้คุณรู้สึกไม่มั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้

การดูแลแผลเริมที่ปากด้วยตัวเอง

– ให้ใช้น้ำเกลือ หรือน้ำอุ่น ทำความสะอาดแผล ค่อย ๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณแผล อาจเลือกทำก่อนที่จะใช้ยาทารักษาที่ปาก เพื่อให้ตัวยา สามารถซึมเข้าไปในแผลได้ดีขึ้น และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดหลังจับแผลเริม เพื่อป้องกันการลุกลามไปติดเชื้อ ในบริเวณอื่นของร่างกาย

– ควรให้แผลเริมแห้งอยู่เสมอ หลังจากอาบน้ำ ล้างหน้าเรียบร้อยแล้ว ก็ควรเช็ดบริเวณแผลให้แห้ง ไม่ควรปล่อยให้ชื้น เพราะจะทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ หรือหากมีการแสบร้อนขึ้น แนะนำให้ทาด้วยเจลว่านหางจระเข้ 100% วันละ 2-3 รอบ

– ตัดเล็บมือให้สั้น เพื่อรักษาความสะอาดของเล็บและมือ พยายามไม่ไปแคะ หรือแกะเกาบริเวณแผลในระหว่างวัน ซึ่งอาจมีอาการแสบหรือคันขึ้นได้

– ทาลิปมันที่มีสารที่ช่วยป้องกันแสงแดด เพื่อป้องกันโอกาสเสี่ยงที่แผลจะไหม้แดด จากรังสี UV ในกรณีที่คุณ จะต้องออกไปนอกบ้าน หรือพบเจอแสงแดดแรง ๆ

– งดอาหารประเภทของหมักดอง ของแปรรูป และอาหารที่มีรสจัด เพราะมีผลกระตุ้นให้ อาการของโรคเริมกำเริบได้ง่าย

การป้องกันไม่ให้เป็นเริม

– หลีกเลี่ยงในการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ที่มีเชื้อ
– หลีกเลี่ยงในการใช้สิ่งของ เครื่องใช้ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีเชื้อ
– หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ ในการรับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกัน
– ดูแลสุขภาพตนเอง พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ