โรคอัลไซเมอร์ โรคที่ไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ส่งผลต่อการเจ็บปวดทางใจของคนใกล้ชิด มาเช็กอาการกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไป

โรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ โรคที่ไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ส่งผลต่อการเจ็บปวดทางใจของคนใกล้ชิด มาเช็กอาการกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไป

โรคอัลไซเมอร์ โรคที่ไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ส่งผลต่อการเจ็บปวดทางใจของคนใกล้ชิด มาเช็กอาการกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไป โรคอัลไซเมอร์ หรือ Alzheimer เป็นหนึ่งโรค ที่เกิดจากทำงานของสมองที่เสื่อมสภาพ มักพบได้บ่อยในผู้สูงวัย ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ก่อนที่ผู้ป่วยจะเป็นอัลไซเมอร์ จะแสดงอาการอัลไซเมอร์มาระยะหนึ่งแล้ว ความทรงจำจะค่อย ๆ เลือนลาง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม สมองฝ่อ คนที่อยู่ใกล้ชิดจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิด ซึ่งโรคนี้จะเป็นโรคที่ หากเกิดขึ้นกับคนในครอบครัวแล้ว คงจะแอบเสียใจอยู่ไม่ใช่น้อย หากวันนึง คนที่รักมากที่สุด จำเราไม่ได้ มาเช็กกันเถอะ ว่าคนรอบตัวหรือแม้กระทั่งคุณเอง มีอาการเหล่านี้หรือไม่

อัลไซเมอร์ โรคที่ไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ส่งผลต่อการเจ็บปวดทางใจของคนใกล้ชิด มาเช็กอาการกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไป

โรคอัลไซเมอร์ โรคที่ไม่เจ็บป่วยทางกาย แต่ส่งผลต่อการเจ็บปวดทางใจของคนใกล้ชิด มาเช็กอาการกันเถอะ ก่อนจะสายเกินไป

อัลไซเมอร์ เกิดจากอะไร

– อายุที่มากขึ้น ก็เสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ได้ง่าย โดยพบในวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบได้มากถึง 40-50 % เลยทีเดียว
– ส่งต่อทางพันธุกรรม อัลไซเมอร์สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ค่อนข้างน้อย
– ภาวะสมองเสื่อม เกิดจากการทำงานของสมอง ที่สะสมสารเบต้าอมีลอยด์ ที่ทำลายเซลล์สมอง จนทำให้ความทรงจำถดถอยลง
– การสะสมของโปรตีนบางชนิดที่มากกว่าปกติ เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau)
– ภาวะโรคแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคดาวน์ซินโดรม โรคเนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว โรคขาดฮาร์โมนต่อมไทรอยด์ หรือโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ชิฟิลิสและเอดส์ เป็นต้น

อาการอัลไซเมอร์ ไม่ใช่แค่หลงลืม

อัลไซเมอร์ อาการทั่วไปแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่
ระยะแรก ที่ผู้ป่วยนั้น เริ่มมีความทรงจำที่ถดถอยลง ชอบพูดซ้ำ ๆ เรื่องเดิม ๆ สับสับทิศทาง อาร์มเสียง่าย และซึมเศร้า
ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะมีอาการที่ชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลง หงุดหงิดง่าย
ระยะที่สาม เป็นระยะที่รุนแรงมาก ผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนอง ต่อคนรอบข้างได้ ใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้เหมือนแต่ก่อน เคลื่อนไหวและทานข้าวเองไม่ค่อยได้ หรืออาจกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งต้องมีคนดูแลอย่างใกล้ชิด

อาการที่บ่งบอกอื่น ๆ อีก มีดังต่อไปนี้

1. อาการหลง ๆ ลืม ๆ
เป็นอาการที่พบได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มต้น เช่น จำไม่ได้ว่าวางของไว้ที่ไหน หลงทิศทาง ทั้งที่เคยไปมาก่อน ถ้าเป็นระยะที่มีความรุนแรงขึ้น จะไม่สามารถจำคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลืมชื่อของตนเอง

2. สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล
ผู้ป่วย มักใช้ชีวิตประจำวันไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้เรื่องของเวลา สถานที่ และฤดูกาล เพราะการทำงานของสมองนั้น เริ่มถดถอยลง

3. ทำอะไรซ้ำ ๆ พูดเรื่องเดิม ๆ
มีปัญหาในการสื่อสาร เช่น ลืมบทสนทนา การตอบไม่ตรงคำถาม หรือชอบทำอะไรซ้ำ ๆ พูดแต่เรื่องเดิม ๆ ซ้ำ ๆ วกวนไปมา คนใกล้ตัวจะสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ชัดเจน

4. หงุดหงิด และโมโหง่าย
อาการแปรปรวนง่าย ชอบหงุดหงิด โมโห และก้าวร้าว บางครั้งก็พูดจาหยาบคาย จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ บางครั้งก็รู้สึกกระวนกระวาย และมีอาการวิตกกังวลร่วมด้วย

5. มีอาการซึมเศร้า
เป็นหนึ่งในอาการอัลไซเมอร์ ที่พบได้บ่อยที่สุด คือผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้า รู้สึกว้าเหว่ รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียว ถูกทอดทิ้ง และไม่มีใครคอยสนทนา ก็ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ง่าย

6. ดูแลตัวเองไม่ได้
ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะรุนแรง จะไม่สามารถดูแลตัวเอง หรือใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ทานอาหารไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ ต้องให้คนคอยช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดอยู่ตลอด

7. อ่อนแรง กล้ามเนื้อสั่น
โดยจะพบอาการอ่อนแรง แขนขาชา กล้ามเนื้อสั่น บางรายก็ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน กล้ามเนื้อ และระบบประสาททำงานไม่ประสานกัน

8. นอนไม่ค่อยหลับ
บางรายก็มีปัญหาเรื่องของการนอน เช่น การนอนไม่หลับ การนอนไม่เต็มอิ่ม เพราะผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส่วนใหญ่ มักจะมีอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับได้ยาก

9. มีอาการประสาทหลอน
ส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยระยะที่สาม ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด

วิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์

1. การรักษาด้วยการใช้ยา
เป็นการใช้ยา เพื่อช่วยควบคุมอาการ ยับยั้งเอนไซม์ ที่ทำลายระบบประสาทอะซีติลโคลีน เพิ่มหรือปรับระดับของสารแอซิติลโคลีน เพื่อไม่ให้ลดลงเกินไป หรือแพทย์อาจจะให้ยาทางจิตเวช ควบคู่ไปด้วยสำหรับผู้ป่วยบางราย

2. การรักษาด้วยการฟื้นฟูสมอง
ทำได้ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ การอ่านหนังสือ เล่นเกมที่ฝึกใช้สมอง พบปะผู้คน ฝึกพูด หรือสนทนากับคนรอบข้าง เพื่อฟื้นฟูความทรงจำ ฝึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปรับการนอนหลับให้เพียงพอ ฝึกการทานอาหารด้วยตัวเอง รวมถึงดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน เพราะการดื่มน้ำให้เพียงพอจะช่วยให้สมองสดชื่น เลือดไหลเวียนดีขึ้น

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *