โรคเกาท์ รู้ทันสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ โรคเกาต์คืออะไร รักษาโรคเกาต์อย่างไร

โรคเกาท์

โรคเกาท์ รู้ทันสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ โรคเกาต์คืออะไร รักษาโรคเกาต์อย่างไร

โรคเกาท์ ภัยเงียบ รู้ทันสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ โรคเกาต์คืออะไร รักษาโรคเกาต์อย่างไร โรคเกาต์ หรือ ภาวะข้ออักเสบเฉียบพลัน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Gout เป็นโรคที่เกิดจาก การสะสมของผลึกเกลือยูเรต ตามเนื้อเยื่อของร่างกายเป็นเวลานาน ๆ  ผู้ที่เป็นโรคเกาต์จะต้องเผชิญ กับความเจ็บปวดข้อรุนแรงเฉียบพลัน และสามารถกำเริบซ้ำได้ในหลายเวลา ทำให้ส่งผลด้านลบต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจในระยะยาว

รู้ทันสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ โรคเกาต์คืออะไร รักษาโรคเกาต์อย่างไร

โรคเกาท์ รู้ทันสัญญาณเตือนของโรคเกาต์ โรคเกาต์คืออะไร รักษาโรคเกาต์อย่างไร

โรคเกาต์นั้น สามารถรักษาหายขาดได้ หากรักษาอย่างเหมาะสม เป็นเวลาต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการรู้ทัน สัญญาณเตือนของโรคเกาต์ ในระยะแรกเริ่ม มาดูกันดีกว่า ว่าค่ากรดยูริกสูงเท่าไหร่ ถึงจะเข้าเกณฑ์ผู้ป่วยโรคเกาต์ได้

กรดยูริกในเลือดสูงเท่าไหร่ถึงเป็นโรคเกาต์

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง คือภาวะที่ระดับกรดยูริก สูงกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในคนทั่วไป โดยภาวะกรดยูริกในเพศชาย และเพศหญิงจะไม่เท่ากัน สำหรับเพศชาย จะต้องมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และสำหรับเพศหญิง มีระดับกรดยูริกอยู่ในเลือดสูงกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งค่าปกติทั่วไปในเพศชาย จะมีระดับกรดยูริกในเลือดประมาณ 3.4-7.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และในเพศหญิงจะมีประมาณ 2.4-6.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ทั้งนี้ ผู้ที่มีค่ากรดยูริกสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคเกาต์กันหมดทุกคน เพราะผู้ที่เป็นโรคเกาต์จะต้องมีอาการของการปวดข้อรุนแรงร่วมด้วย

สาเหตุของโรคเกาต์

โรคเกาต์เกิดจากการที่ ร่างกายสร้างกรดยูริกในปริมาณมาก ติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งกรดยูริกถือเป็นของเสียรูปแบบหนึ่งของร่างกาย เมื่อเกิดการสะสม ก็จะตกตะกอนเป็นผลึกที่บริเวณข้อต่อ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อนบริเวณข้ออย่างรุนแรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์ ก็มีดังนี้
– คนที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมโรคเกาต์ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป
– คนที่มีพฤติกรรมที่ชอบรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
– คนที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไต เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคเกาต์ เช่นกัน

อาการของโรคเกาต์

แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
– ระยะที่ 1: ระยะที่ข้ออักเสบเฉียบพลัน ลักษณะอาการของโรคเกาต์ ในระยะนี้ มักปวดบวมรุนแรงที่ข้อหัวแม่เท้าหรือข้อเท้าใน 24 ชั่วโมงแรก และสามารถหายเองได้ภายใน 5-7 วัน และส่วนใหญ่จะกำเริบซ้ำอีกหากไม่รีบรักษา
– ระยะที่ 2: ระยะที่ไม่แสดงอาการของข้ออักเสบ ลักษณะอาการของระยะนี้ มักเป็นปกติหลังจากข้ออักเสบหายในระยะแรก ไม่มีการแสดงอาการปวดบริเวณข้อ แต่จะมีโอกาสกำเริบซ้ำอีกภายใน 1-2 ปี เมื่อข้ออักเสบ ความปวดก็จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกครั้ง และอาจมีไข้จากอาการข้ออักเสบด้วย
– ระยะที่ 3: ระยะข้ออักเสบเรื้อรัง ลักษณะของอาการเฉพาะในระยะนี้คือ ข้อมีอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จนเรื้อรังร่วมกับ พบก้อนผลึกยูเรต หรือเรียกว่า โทฟัส เป็นก้อนสีขาวคล้ายชอล์กตามผิวหนัง บริเวณข้อนิ้วเท้า เอ็นร้อยหวาย ใบหู ข้อนิ้วมือ และข้อศอก อีกทั้งอาจมีไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจเสี่ยงเกิดภาวะไตวายแทรกซ้อนได้

หากมีอาการปวดตามข้อหัวแม่มือ ข้อเท้า หรือข้อนิ้วเท้า แม้อาการจะหายไป เราขอแนะนำให้ไปตรวจค่ากรดยูริกที่โรงพยาบาล หากมีภาวะกรดยูริกเกิน อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ แพทย์จะได้ทำการวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างถูกต้อง

การรักษาโรคเกาต์

1. วิธีการรักษาโรคเกาต์โดยไม่ใช้ยา
คือต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร จำพวกโปรตีน หรือพิวรีนสูง ให้น้อยลง เช่น เครื่องในสัตว์ ยอดหน่อไม้ฝรั่ง สัตว์ปีก งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่เสี่ยง หากมีอาการปวดข้อ สามารถใช้น้ำแข็งประคบในบริเวณที่ปวดได้
2. การรักษาโรคเกาต์โดยใช้ยา
แพทย์จะแนะนำในผู้ป่วยโรคเกาต์ ที่ปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางให้ใช้ยา 3 ชนิดได้แก่ ยาโคลชิซิน กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และกลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคเกาต์

ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตน เพื่อลดอาการข้ออักเสบ ดังนี้
– ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ เพื่อช่วยลดกรดยูริกในเลือดให้น้อยลง
– งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส
– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนสูง เพราะพิวรีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างกรดยูริก เช่น พวกเครื่องในสัตว์ อาหารทะเล สัตว์ปีก ยอดหน่อไม้ฝรั่ง และถั่วบางชนิด
– ไปตรวจวัดค่ากรดยูริกในเลือดเป็นประจำ
– ควบคุมน้ำหนักของตน ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
– พบแพทย์ตามนัด และทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *