Long COVID หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง สิ่งที่ต้องระวังเมื่อหายจากโควิดแล้ว

Long COVID

Long COVID หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง สิ่งที่ต้องระวังเมื่อหายจากโควิดแล้ว

Long COVID หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง สิ่งที่ต้องระวังเมื่อหายจากโควิดแล้ว เป็นที่ยืนยันแล้วว่า หลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสสูงที่เราจะต้องประสบกับอาการ LongCOVID (ลองโควิด) ที่ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนเดิม แถมบางคนอาจจะยังมีอาการป่วย ไม่ต่างกับตอนติดเชื้ออยู่เลย โดยเฉพาะความผิดปกติของปอด และหัวใจ ที่ทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิม ซึ่งบทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูล เพื่อให้รู้เท่าทัน และลดความกังวลเกี่ยวกับ ผลกระทบทางร่างกาย ที่อาจเกิดขึ้นหลังหายจากรักษาหายจากโควิด-19 และสำรวจตนเองว่า หลังติดโควิด เรามีภาวะลองโควิด หรือมีอาการที่ใกล้เคียงกับภาวะดังกล่าวหรือไม่ ที่สำคัญจะมีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวอย่างไร

หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง สิ่งที่ต้องระวังเมื่อหายจากโควิดแล้ว

Long COVID หลังติดเชื้อแล้ว โควิดทิ้งอะไรไว้ให้เราบ้าง สิ่งที่ต้องระวังเมื่อหายจากโควิดแล้ว

ลองโควิด คืออะไร

ลองโควิด คือ อาการทางร่างกาย และทางจิตใจ ที่หลงเหลืออยู่ หลังจากที่เราหายจากการติดเชื้อโควิด-19 อาจเป็นผลกระทบทางตรงจากร่องรอยของโรค หรือเป็นผลกระทบทางอ้อม ที่มาจากช่วงที่เคยติดเชื้อก็เป็นได้ ทั้งนี้ ลักษณะของอาการอาจคล้าย หรือแตกต่างกันกับอาการในช่วงที่ติดโควิด

อาการของลองโควิด ที่พบบ่อย

อย่างไรก็ดี มีลักษณะอาการร่วมที่พบได้บ่อยที่สามารถนำมาสรุป ได้แก่
– มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
– หายใจถี่ หรือหายใจไม่ทัน หอบเหนื่อย
– มีอาการใจสั่น รู้สึกแน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
– มีความจำสั้น สมาธิสั้น หรือรู้สึกสมองล้า
– มีอาการไข้ ไอ ปวดหัว เจ็บคอ
– มีการรับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
– มีปวดตามข้อต่อต่าง ๆ
– มีอาการนอนไม่หลับ หลับยาก
– มีอาการเวียนศีรษะ
– มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
– มีผดผื่นขึ้นตามตัว
– อาจจะมีภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

สาเหตุของภาวะลองโควิด

1. เชื้อโควิด อาจทิ้งร่องรอย ความเสียหาย ในอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไว้ ทำให้อวัยวะที่เกิดความเสียหายนั้น ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หากเกิดความเสียหาย ที่บางส่วนของสมอง ก็อาจจะเกิดภาวะสมองล้า หรือหากมีความเสียหายที่ปอด ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติเวลาหายใจ เช่น หายใจถี่ เหนื่อยหอบง่าย เป็นต้น
2. การทำงานของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงดีมาก ๆ กลายเป็นว่าเมื่อหายจากโควิดแล้ว ภูมิคุ้มกันอาจหันมาทำลายเซลล์ในร่างกายของตนเอง
3. ยังหลงเหลือชิ้นส่วนของไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ทำงานแล้ว หรือยังทำงานได้อยู่ เป็นผลไปกระตุ้นภูมิคุ้มกันของเราให้ต่อต้าน จนอาจมีอาการป่วยเกิดขึ้น

แนวทางป้องกัน ลองโควิด

1. ท่านควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด
2. หากมีโรคประจำตัว ให้พยายามดูแลตนเอง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ให้อาการของโรคอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ไม่ถึงขั้นโคม่า
3. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม แล้วให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วงเวลาดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับการออกกำลังกายข้างนอก ก็สามารถออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ ที่บ้านก็ได้
4. กรณีที่น้ำหนักเกิน ให้คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม หรือปรึกษาแพทย์
5. รักษาภาวะจิตใจให้ แจ่มใส ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล หรือแพนิค พยายามตรวจสอบภาวะจิตใจของตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาอยู่เสมอ
6. หากทราบว่าตนได้รับเชื้อโควิด ให้แจ้งสถานพยาบาล ในพื้นที่ของท่านทราบ โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

แนวทางการฟื้นฟูภาวะ Long COVID (ลองโควิด)

1. กินอาหารที่ช่วยฟื้นฟูทุก ๆ มื้อ ซึ่งอาหารโปรตีนมีส่วนช่วยในการซ่อม สร้าง และเสริม เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เราจึงควรกินอาหารที่มีโปรตีนให้เพียงพอ เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ ถั่วชนิดต่าง ๆ โดยกินในสัดส่วนที่เหมาะสมกับร่างกาย

2. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หลาย ๆ คนอาจนึกถึง การออกกำลังกาย เพราะเป็นแนวทางหนึ่งในการฟื้นฟูร่างกายให้กลับมามีสมรรถภาพเช่นเดิมได้อีกครั้ง ซึ่งแม้ว่าการออกกำลังกายนั้น จะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่บางอย่างอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิด ดังนั้นในผู้ป่วยที่เพิ่งหายจากโควิดจึงควรเลือกการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หนักจนเกินไป

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *