SWOT Analysis นำไปใช้ทำการตลาดออนไลน์อย่างไร

SWOT Analysis นำไปใช้ทำการตลาดออนไลน์อย่างไร

SWOT Analysis

          SWOT analysis เป็นหลักการวิเคราะสถานการณ์ของธุรกิจหรือองค์กร ว่าองค์กรเราอยู่ในสถานการณ์แบบไหน เพื่อที่จะนำมาใช้วางแผนถึงแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมในการเดินหน้าธุรกิจ โดยจะเน้นไปที่การนำจุดแข็งและจุดอ่อนของสภาพแวดล้อมภายในมาประกอบการพิจารณาของโอกาสรวมไปถึงอุปสรรคภายนอก เพื่อใช้ในการหาแผนการที่ดีที่สุดให้กับองค์กร อีกทั้งยังคงเป็นพื้นฐานของการกำหนดกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นวันนี้เราจะพามาทำความรู้จักเครื่องมือที่สำคัญนี้โดยสังเขปกัน

SWOTanalysis คืออะไร

คือแผนยุทธศาสตร์ที่เป็นรูปแบบ ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางธุรกิจที่กำลังเผชิญอยู่ โดยจะประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก และ คุณลักษณะของธุรกิจ เพื่อใช้ประกอบการ วิเคราะห์ คือ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสทางธุรกิจ และ อุปสรรคหรือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นก้บธุรกิจ ดังนี้

1 Strengths (S) - จุดแข็ง

          Strengths คือจุดเด่นขององค์กรและธุรกิจของคุณ หรือก็คือปัจจัยอะไรก็ตามที่ทำให้ธุรกิจของคุณมีความได้เปรียบคู่แข่ง ในที่นี้สามารถแบ่งได้หลากหลายรูปแบบเช่น ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์, การมีต้นทุนที่น้อยกว่า, ทำการตลาดได้ดีกว่า, กลยุทธ์ทางการตลาดที่ครอบคลุม หรือแม้แต่ดีไซน์ของสินค้าที่มีความโดดเด่นและเข้าถึงผู้คนได้ง่ายกว่าก็จัดเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างหนึ่ง

          ซึ่งเจ้าขององค์กรหรือธุรกิจ จะต้องให้ความสำคัญและกล้าที่จะลงทุนกับอะไรก็ตามที่สามารถเพิ่มศักยภาพในการทำให้ธุรกิจให้ได้เปรียบในตลาด เช่น การหาคอร์สเรียนให้กับคนในองค์กร, การเข้าใจถึงความสามารถที่เหมาะสมในงาน, เข้าใจแก่นแท้ของสิ่งที่เรามีไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการก็ตาม, หรือแม้แต่การรักษาคุณภาพของสินค้าและบริการเอาไว้ให้สูงหรือเท่ากับมาตรฐานอยู่ตลอด หากสามารถรักษาและพัฒนาในส่วนนี้ต่อไปได้อย่างตรงจุดและเหมาะสมก็จะเป็นผลดีกับตัวธุรกิจในการพัฒนาต่อไปได้

2 Weakness (W) - จุดอ่อน

          Weakness คือสิ่งที่แสดงถึง จุดอ่อน จุดด้อย รวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสามารถของบุคลากร, ความขัดแย้งของคนในองค์กร, มาตรการการทำงาน, ค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกับตัวงาน หรือแม้แต่ความเข้าใจในตัวธุรกิจที่ไม่มากพอของผู้ประกอบการ ฯลฯ ทั้งหมดล้วนส่งผลต่อการดำเนินการทางธุรกิจทั้งสิ้น

          Weakness นั้นไม่สามารถลบให้หายออกไปจากองค์กรได้ 100% แต่เราต้องรู้เท่าทันจุดอ่อนที่เกิดขึ้น ต้องหาวิธีการที่จะรับมือและแก้ไขมันให้เร็วที่สุด อาทิเช่น ปัญหาความขัดแย้งของคนในองค์กร เราจะต้องเข้าถึงจุดเริ่มต้นของเรื่องราวเหล่านั้นเสมือนว่าเราเป็นพนักงานคนหนึ่ง เพื่อทำความเข้าใจและหาทางออกของปัญหาให้ประนีประนอมมากที่สุด

          หรือจะเป็นจุดอ่อนด้านความสามารถของบุคลากร หรือแม้กระทั่งตัวของเจ้าของธุรกิจเอง ในส่วนนี้จะมีวิธีแก้ไขที่คล้ายกับการพัฒนาจุดแข็งก็คือการลงทุนในคอร์สเรียนต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของตน เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในองค์กรให้คุ้มค่ากับทรัพยากรที่เสียไป อีกทั้งยังต้องเท่าทันสถานการณ์ในตลาดและเข้าใจสิ่งที่ตัวเองกำลังทำได้อย่างเชี่ยวชาญอีกด้วย

3 Opportunity (O) - โอกาส

          โอกาสคือสิ่งที่จะส่งผลลัพธ์ในรูปแบบของการสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจจากภายนอกโดยที่ตัวองค์กรเองอาจไม่ได้ตั้งใจด้วยซ้ำ ซึ่งก็จะมีปัจจัยหลากหลายอย่างที่จะช่วยส่งเสริมในการพัฒนาขององค์กร อาทิเช่น กระแสข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกิจของเรา, นโยบายของภาครัฐที่มีผลกับการตลาดในสายงานธุรกิจ ฯลฯ

          กล่าวโดยสรุป คือในส่วนนี้ทางผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการอัปเดตข่าวสารอย่างมาก เพราะว่าถ้าหากเราสามารถคาดเดาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักการได้ เราก็สามารถเตรียมตัวและรวมไปถึงการวางกลยุทธ์ในการหาประโยชน์จากเหตุการณ์นั้นๆ และหาโอกาสทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพได้มากที่สุด

4 Threats (T) - อุปสรรค

          อุปสรรค หมายถึง ผลกระทบในเชิงลบที่เกิดจากปัจจัยภายนอก และส่งผลต่อธุรกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ซึ่งถ้าหากว่าตัวธุรกิจไม่สามารถรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้ อาจส่งผลร้ายกับการดำเนินกิจการ ในทางร้ายที่สุดคงถึงขั้นปิดธุรกิจไปเลย

          ซึ่งสาเหตุก็เป็นได้หลากหลายอย่างมากๆ ยิ่งกว่าการมองหาโอกาสเสียอีก เช่น สถานการณ์ทางการเมืองที่ตกต่ำ, ความนิยมที่ตกลงของตัวธุรกิจ, การ Disruption ของธุรกิจสายงานเดียวกัน, หรือแม้แต่ภัยพิบัติที่ส่งผลได้ทั้ง 2 ด้านแต่ส่วนมากจะส่งผลในด้านของ ‘อุปสรรค’ มากกว่า

 

 

          และนี่ก็คือปัจจัยที่สำคัญทั้ง 4 ข้อ ของเครื่องมือการวิเคราะห์องค์กรหรือธุรกิจอย่าง ‘SWOTAnalysis’ ซึ่งจุดประสงค์หลักของหลักการวิเคราะห์รูปแบบนี้ เพื่อให้องค์กรหรือผู้ประกอบการได้เห็นถึงภาพรวมของธุรกิจตัวเองที่กำลังดำเนินอยู่ หากทำความเข้าใจปัจจัยทั้ง 4 ได้อย่างเชี่ยวชาญและนำลักษณะที่องค์กรกำลังเป็นอยู่มาวิเคราะห์ตามความเป็นจริงแล้วล่ะก็ จุดแข็งก็จะแข็งขึ้น, จุดอ่อนก็ลดลงและเติบโตขึ้น, มองเห็นถึงโอกาสในสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี, และรู้เท่าทันอุปสรรคและเตรียมวิธีรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Leave Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *